วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Logistics วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก

     การจัดการโลจิสติกส์  วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
1.        ลักษณะการเรียนการสอน
แผนกวิชาการจัดการโลจิสติกส์ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเป็นสถานศึกษาแห่งเดียวในจังหวัดพิษณุโลก และ  1 ใน 3 ของภาคเหนือที่เปิดสอนในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดสอนครั้งแรกเมื่อปี 2549
ปัจจุบัน
เปิดรับผู้จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขา   และ มัธยมศึกษาปีที่ 6 
หลักสูตร  ภาคปกติ เรียน 2 ปี เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้านโลจิสติกส์
                ภาคเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ เรียน เสาร์-อาทิตย์ (สำหรับผู้ทำงาน)
อนาคต
              เปิดสอนในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ 
                ความพร้อม
            มีผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ผู้สอนตรงสาขาวิชาชีพการจัดการโลจิสติกส์
จุดเน้นของการเรียน   การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ วางแผน และจัดระบบงานตามหลักกระบวนการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นการบริหารธุรกิจยุคใหม่ในสังคมโลก ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
            มุ่งเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในสถานประกอบการเฉพาะทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ในจังหวัดพิษณุโลก กรุงเทพฯ และปริมณฑล
                จัดการศึกษาดูงานด้านการจัดการโลจิสติกส์ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และสถานประกอบการเครือข่ายทั่วประเทศ เช่น  บริษัท DHA สยามวาลา, บริษัทเบอรี่ยุคเกอร์, สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฯลฯ
2.        แนวทางการศึกษาต่อ
           สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ด้านการจัดการโลจิสติกส์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน หลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง (เทียบโอนวิชา) 
         หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์โลจิสติกส์ (วศบ.การจัดการจัดการโลจิสติกส์) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ

-2-

         หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ (บธบ. การจัดการโลจิสติกส์) มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพ, วิทยาลัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กรุงเทพฯ
         หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ (ต่อเนื่อง) (ทลบ.การจัดการโลจิสติกส์) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดทำหลักสูตรและวิพากษ์แล้ว
3.ตลาดแรงงาน/จบการศึกษาทำงานด้านใด
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นสาขาวิชาที่ได้รับการรับรองและพัฒนาหลักสูตรจากสมาพันธ์โลจิสติกส์แห่งประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ในระดับประเทศ เป็นสาขาวิชาชีพที่ตลาดแรงงานมีความต้องการมากอยู่ในกลุ่ม คลาสเตอร์ของการพัฒนาประเทศเพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าในระดับอาเซียน และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การบริหารจังหวัดพิษณุโลกในกลุ่มสี่แยกอินโดจีน
จบ ปวส. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก แล้วสามารถประกอบอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน ในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลังสินค้า  เจ้าหน้าที่จัดซื้อ เจ้าหน้าที่พัสดุ  เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่ขนส่ง เจ้าหน้าที่ศุลกากร (ด้านการนำเข้า-ส่งออก) เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนงาน และการผลิต
  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
       นักศึกษา รุ่น  1 (ปีการศึกษา 2549-2550)จบการศึกษา ปี 2550
        จบปวส.การจัดการโลจิสติกส์ ทำงานด้านคลังสินค้า บริษัท ส.ขอนแก่น, ฝ่ายประกันคุณภาพ โรงพยาบาลปู่เจ้าสมิงพราย สมุทรปราการ, ฝ่ายจัดซื้อ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
        เรียนต่อและจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ และประกอบอาชีพด้านวิศวกรรม   โลจิสติกส์ บริษัทการบินไทย จำกัด
        นักศึกษา รุ่น 2 (ปีการศึกษา 2550-2551) จบการศึกษา ปี 2551
       เรียนต่อในระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ที่ วิทยาลัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กรุงเทพฯ , มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพฯ
      นักศึกษาเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
      นักศึกษา รุ่น 3 (ปีการศึกษา 2551-2552) จบการศึกษา ปี 2552
    ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่คลังสินค้า บริษัทโฮมแกรนด์ จำกัด, เจ้าหน้าที่ธุรการ สำนักงานที่ดิน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ บริษัทไทรอัมพ์ ,เจ้าหน้าที่วิจัย ,เจ้าหน้าที่ฝ่ายโลจิสติกส์ บริษัทกัณภัณฑ์ จำกัดสมุทรปราการ
     กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และมหาวิทยาลัย  ราชภัฎพิบูลสงคราม
      นักศึกษา รุ่น 4 (ปีการศึกษา 2551-2553) จบการศึกษา ปี 2553
        จบ ปวส. ปฏิบัติงานด้านคลังสินค้า ที่คลังสินค้า บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
        ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
       นักศึกษา รุ่นที่ 5 (ปีการศึกษา 2554-2555) กำลังศึกษา
       จำนวน 18 คน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น