รายงานการวิจัย
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสาร
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : กรณีศึกษา ปวส. แผนกวิชาการเลขานุการ
วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
The developing of the teaching and learning management towards
Documentation Adminitration , on child-centered focus. : Case Study of Highers Vocational Education Certificate majored in Secretarial field Bungphra Phitsanuloke Commercial College .
นายอนุสิษฐ ประเสริฐดี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
แผนกวิชาการเลขานุการ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สรุปผลการวิจัย
ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสารโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ :
กรณีศึกษา ปวส. แผนกวิชาการเลขานุการ วิทยาลัยพณิชการบึงพระ พิษณุโลก
The developing of the teaching and learning management towards Documentation
Adminitration, on child-centered focus. : Case Study of Highers Vocational Education
Certificate majored in Secretarial field Bungphra Phitsanuloke Commercial College .
ชื่อผู้วิจัย นายอนุสิษฐ ประเสริฐดี Mr.Anusit Prasertdee
ตำแหน่ง/สังกัด ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
วุฒิการศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาเอก บริหารธุรกิจ (MBA)
ผู้ร่วมวิจัย -
ปีที่ทำวิจัยสำเร็จ 2550
แหล่งทุนวิจัย ทุนสนับสนุนจากสถานศึกษา
ความเป็นมา
สภาพปัญหาและความจำเป็น
1.1 การศึกษาผลการเรียนการสอน ผู้รายงานได้ศึกษาผลการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่เรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร รหัส 3203-2005 ปีการศึกษา 2549
ซึ่งจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรพุทธศักราช 2546 ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงผลการเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร ปีการศึกษา 2549 นักเรียนจำนวน 23 คน
ระดับผลการเรียน | รวม | ร้อยละ | ค่าเฉลี่ยรวม |
4 | 5 | 21.73 | ผลการเรียนระดับ 3.00 ขึ้นไป ร้อยละ 95.63 |
3.5 | 16 | 69.56 | |
3 | 1 | 4.34 | |
ขร. | 1 | 4.34 | |
รวม | 23 | 100 |
ที่มา : เอกสารบันทึกผลการเรียน งานวัดผลและประเมินผลการเรียน วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก ปีการศึกษา 2549
จากตารางที่ 1 พบว่า ผลการเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ของนักศึกษา
ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการเลขานุการ ที่ผู้รายงานรับผิดชอบสอน นักศึกษามีระดับผลการเรียนเฉลี่ยที่ระดับ 3.5
1.2 ความจำเป็นในการพัฒนา
จากการพิจารณาผลการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ของนักศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการเลขานุการ ในปีการศึกษา 2548 พบว่าค่าเฉลี่ยของระดับผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ 3.0 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่ยังพบว่ามีนักศึกษาที่มีผลการเรียนระดับ 2.5 ถ้ามองในระดับคุณภาพสาขาวิชาแล้วเห็นว่า ระดับผลการเรียนที่เป็นมาตรฐานสำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการเลขานุการ ควรจะได้อย่างต่ำ 3.00 ขึ้นไป และลดผลการเรียนในระดับต่ำกว่า 3.0 ซึ่งในปี 2549 มีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.34 ผู้รายงานจึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาในสาขาวิชาชีพและสนองหลักการ จุดหมายของหลักสูตร
1.3 มาตรฐานตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผู้วิจัยได้กำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดความสำเร็จ ของการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) วิชาชีพสาขางาน ดังนี้ “นักศึกษาร้อยละ 80 มีระดับผลการเรียน 3.0 ขึ้นไป” จึงถือว่าเป็นผู้มีระดับผลการเรียนที่มีคุณภาพ
แนวคิด ทฤษฎี
1. ศึกษาแนวทางการพัฒนา ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน วิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ดังนี้
1.1 ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้ศึกษาแนวทาง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากเอกสารวิชาการ ตำรา ผลงานวิจัย
1.2 ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปาโมเดล/ทักษะการคิด
ผู้วิจัยได้นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า มาพิจารณาเพื่อเลือกเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน
2. วิเคราะห์แนวทางในการพัฒนา
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชา การบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ดังตารางนี้
เรื่อง | แนวทางการพัฒนา |
กระบวนการเรียนการสอน 1. การวางแผนการจัดการเรียนการสอน - เลือกนวัตกรรม 2. การเตรียมการสอน - แผนการจัดการเรียนรู้ - กำหนดกิจกรรม - ผลิตสื่อ/Powerpoint/เอกสารการสอน - สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล 3. การแก้ปัญหาการเรียนการสอน | 1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมและพัฒนาทักษะ การคิด 3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารตำราวิชา การบริหารงานเอกสาร (3203-2005) 4. ผลิตสื่อการเรียนการสอน ใบความรู้, บทเรียนสำเร็จรูป, เอกสารประกอบการเรียนการสอน ฯลฯ 5. สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริง |
ผู้เรียน 1. ทดสอบพื้นความรู้เดิม 2. ด้านความสนใจใฝ่รู้/คุณธรรมจริยธรรม 3. การแก้ปัญหา/วิธีการ | 1. ทดสอบก่อนเรียน 2. แบบประเมินผลสภาพจริง 3. ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมตามสภาพจริง |
ครูผู้สอน 1. กระบวนการสอน 2. การปรับปรุงแก้ไข | 1. ศึกษาค้นคว้ากระบวนการสอน 2. จัดกิจกรรมหลากหลายที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. บันทึกหลังสอน 4. รายงานการ วิจัยในชั้นเรียน |
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชา การบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ปวส. แผนกวิชาการเลขานุการ มีดังนี้
1. เพื่อพัฒนาการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตำราเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร
(3203-2005) ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน เทคนิควิธีสอนวิชาการบริหารงานเอกสาร(3203-2005) ปวส. เลขานุการ ให้สอดคล้องกับจุดหมาย หลักสูตรพุทธศักราช 2546 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างเสริมทักษะการสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิด และปฏิบัติงานตามสาขาอาชีพได้
3. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ของนักศึกษาระดับ
ปวส. แผนกวิชาการเลขานุการให้สูงขึ้น ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ คือ นักศึกษามีผลการเรียนระดับ 3.0 ขึ้นไปร้อยละ 80 เนื่องจากเป็นวิชาชีพสาขางานซึ่งจำเป็นต่อการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต
ขอบเขตของการดำเนินการ ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสาร
(3203-2005) มีขอบเขตในการดำเนินการดังนี้
1. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนา
2. ศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็น
3. กำหนดแนวทางในการพัฒนา
4. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ผลิตสื่อ นวัตกรรม เครื่องมือวัดผล
5. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
6. วิเคราะห์ผลการวัดและประเมินผล
7. สรุปผล และรายงานผล
ขอบเขตการพัฒนา เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และเอกสารตำราเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการเลขานุการ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ มีดังนี้
1. มีเอกสารตำราเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005)
1. มีแผนการจัดการเรียนรู้วิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ครบทุกหน่วยการเรียนรู้
2. มีสื่อการเรียนการสอน ที่หลากหลาย
3. นักศึกษาที่เรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้
สมมติฐานการวิจัย นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. แผนกวิชาการเลขานุการ
ที่เรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด คือ มีระดับผลการเรียนรู้สูงขึ้นตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในปีการศึกษา 2550 มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. วางแผนการดำเนินงาน ศึกษาและวิเคราะห์
2. กำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม
3. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย
4. ประชากรที่จะพัฒนา
5. จัดทำเครื่องมือ
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล
7. วิเคราะห์ข้อมูล
ระดับคุณภาพ / เกณฑ์การประเมิน
ระดับคุณภาพ | ||||
ระดับ 1 | ระดับ 2 | ระดับ 3 | ระดับ 4 | ระดับ 5 |
ผลการเรียนตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 0-30 | ผลการเรียนตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 31-40 | ผลการเรียนตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 41-50 | ผลการเรียนตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 51-60 | ผลการเรียนตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 61-100 |
ประชากร นักศึกษาแผนกวิชาการเลขานุการ วิทยาลัยพณิชยการพิษณุโลก
กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาแผนกวิชาการเลขานุการ ระดับ ปวส. ที่ลงเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005)
ร้อยละ 60 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการเลขานุการ ที่ลงเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) มีระดับผลการเรียนสูงขึ้น หมายถึง นักศึกษาที่เรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) มีระดับผลการ เรียนสูงขึ้นตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป โดยครู มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เอกสารตำราวิชาการบริหารงานเอกสาร และประเมินตามสภาพจริง
ตัวแปร
ตัวแปรต้น การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวแปรตาม ผู้เรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร ที่ใช้กระบวนการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเพื่อการประเมิน
1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน / แบบบันทึกหลังสอน / แบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม
3. แบบทดสอบ / แบบฝึกหัด / แบบสอบถาม
4. รายงาน/ชิ้นงาน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ผู้สอนเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากแบบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบทดสอบ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การตัดสินผลการเรียนจากคะแนนรวมทุกส่วนทั้งสามด้านได้แก่ ด้านความรู้ / ด้านทักษะ
กระบวนการ/ด้านคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติ มีเกณฑ์การประเมินดังนี้
ช่วงคะแนน | เกรด | หมายเหตุ |
80 - 100 | 4 | คะแนน 79.5 คะแนนพิจารณาให้ เป็นคะแนนเต็ม หรือจะปัดขึ้นหรือปัดลงให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน เช่น 79 หรือ 80 แล้วให้เกรดตามเกณฑ์การวัดผลประเมินผล |
75 - 79 | 3.5 | |
70 - 74 | 3 | |
65 - 69 | 2.5 | |
60 - 64 | 2 | |
55 - 59 | 1.5 | |
50 - 54 | 1 | |
1 - 49 | 0 |
2) หน่วยวัด คิดเป็นร้อยละ
สูตรคำนวณ = จำนวนผู้เรียนที่มีผลการเรียนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป x 100
จำนวนผู้เรียนวิชาการบริหารงานเอกสารทั้งหมด
3) ระดับคุณภาพ / เกณฑ์การประเมิน
ระดับคุณภาพ | ||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
นักเรียนมีระดับผลการเรียนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 0 - 30 | นักเรียนมีระดับผลการเรียนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 31 - 40 | นักเรียนมีระดับผลการเรียนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 41 - 50 | นักเรียนมีระดับผลการเรียนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 51 - 60 | นักเรียนมีผล การเรียนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปจำนวนร้อยละ 61 – 100 |
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัย การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสรุปผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการพัฒนา
1.1 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเอกสารตำราวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) จำนวน 1 ชุด
1.2 มีสื่อการเรียนการสอน ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) มีดังนี้
- ใบความรู้ จำนวน 10 เรื่อง
- เอกสารความรู้ จำนวน 10 เรื่อง
- บทเรียนสำเร็จรูป (Power Point) 1 ชุด
- รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
- ชิ้นงาน/รายงานการศึกษาค้นคว้า
1.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
- แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 7 หน่วยการเรียนรู้
- แบบประเมินผลงาน - แบบสังเกต - แบบสอบถาม - แบบประเมินโครงงาน
ผลการประเมินผู้เรียน
ผลจากแบบสอบถาม ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) อยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 65.00 ระดับดี ร้อยละ 27.05 ระดับปานกลาง ร้อยละ 6.36 ระดับน้อย
ร้อยละ 1.14
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักศึกษา ปวส. แผนกวิชาการเลขานุการ ที่เรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
ตารางแสดงผลการเรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) ปีการศึกษา 2550
ระดับผลการเรียน | รวม | ร้อยละ | ค่าเฉลี่ยรวม |
4 | 2 | 13.04 | ผลการเรียน ระดับ 3.0 ขึ้นไป ร้อยละ 78.25 |
3.5 | 13 | 56.52 | |
3 | 2 | 8.69 | |
1.0 | - | - | |
มส. | 6 | 26.08 | |
รวม | 23 | 100.00 |
ที่มา : งานวัดผลและประเมินผล วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
อภิปรายผล
การรายงานผลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนตามรายละเอียดตัวชี้วัดสภาพความสำเร็จรายบุคคล
ปีการศึกษา 2550 สามารถอภิปรายผลการดำเนินงานได้ดังนี้
ผลการดำเนินงาน การสรุปผลการดำเนินงานครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์จากการพูดคุย การสังเกต วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน การประเมินและการทดสอบของผู้เรียนในวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005)
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดำเนินเป็นขั้นตอนตามโครงการสอน ข้อสังเกตจากการบันทึกผลหลังการสอน แผนการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การประเมินตามสภาพจริง
ผลการประเมิน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษา ปวส. แผนกวิชาการเลขานุการที่เรียนวิชาการบริหารงานเอกสาร (3203-2005) มีระดับผลการเรียนตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปมีค่าร้อยละ 56.52 และมี คุณภาพอยู่ในระดับ 4 ร้อยละ 13.04 แสดงให้เห็นว่านักศึกษาได้รับการพัฒนาผลการเรียนให้สูงขึ้นจริง ตามตัวชี้วัดสภาพความสำเร็จรายบุคคล เพราะผู้เรียนมีผลการเรียนตั้งแต่ 3 ขึ้นไปร้อยละ 78.25 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ
จากการกำหนดตัวชี้วัดในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษารายบุคคลของครูผู้สอนมีผลทำให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
ประโยชน์ของการวิจัย
ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอนในสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพในอนาคตได้ ดังนี้ ผลดี
1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู มีขั้นตอน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ทำให้ทราบถึงปัญหาและสามารถหาแนวทางแก้ไขในการสอนครั้งต่อไป
3) สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4) ครูมีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย
5) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ผลกระทบ
1) ครูมีภาระในการเตรียมการสอน ดำเนินการจัดทำ และหาสื่อการสอนมากขึ้น
2) ครูและผู้เรียนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
3) สถานที่ใช้เรียนไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร เนื่องจากห้องเรียนบางห้อง ไม่เพียงพอ ต่อการใช้สื่อ
เทคโนโลยี ในการเรียนการสอน และการฝึกให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพสูงขึ้น
งานวิจัยในอนาคต
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอน
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
------------------. รูปแบบการเรียนการสอนฯ ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
วิชาการ. กรม กระทรวงศึกษาธิการ. การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทย
ด้านทักษะการคิด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2542.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร :
บริษัทแอลทีเพรส, 2542.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง.
กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัย
ไสว ฟักขาว. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์เอมพันธ์, 2545.
สุวิทย์ มูลคำ. อรทัย มูลคำ. 21 วิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร :
ดวงกมลสมัย, 2545.
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมวิชาการ. สอนให้คิด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2545.
อนุสิษฐ ประเสริฐดี. การบริหารงานเอกสาร. เอกสารอัดสำเนา วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
พิษณุโลก, 2549.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น