โครงการ 1 แผนกวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
ชื่อโครงการ : การจัดสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทาง E-Learning ด้านการบริหารจัดการขนส่งสินค้า
คลังสินค้า และพาณิชยนาวี การจัดการโลจิสติกส์
ผู้รับผิดชอบโครงการ : นายอนุสิษฐ ประเสริฐดี , นางสาวธนภร โชคศิริวัชร
แผนกวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
ที่ปรึกษา ดร.กฤชนันท์ ภู่สวาสดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัย
นางณฐมณ นาคเหล็ก รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์/นโยบาย : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ความมีประสิทธิภาพการ , การพัฒนาคุณภาพวิชาการ พัฒนางานวิจัยทางการศึกษา , นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และ ตอบสนองการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 5 คลัสเตอร์
หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นสาขาวิชาชีพตามความ
ต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน เน้นกระบวนการบริหารคุณภาพที่เป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนากำลังคนที่จะไปสู่ตลาดแรงงาน ได้อย่างเหมาะสมอันส่งผลต่อสถานศึกษาที่ผลิตกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีคุณภาพ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานผู้สอนและผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลอง ที่ช่วยสร้างทักษะการเรียนรู้ในสาขาอาชีพเฉพาะทางได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
ดังนั้น แผนกวิชาการจัดการโลจิสติกส์ จึงได้จัดทำโครงการจัดสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทาง
E-Learning และศูนย์สาธิต เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เข้าถึงข้อมูลเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้ โดยการพัฒนาและเรียนผ่านศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสาขาอาชีพ ที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ คู่มือการเรียนรู้ สื่อประสมต่าง ๆ สำหรับนักเรียน นักศึกษาทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งยังสามารถพัฒนาทักษะผู้ที่ปฏิบัติงานตามสาขาวิชาชีพได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนพัฒนาประชาชนในชุมชนให้ได้รับโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้คำแนะนำ อันเป็นจุดมุ่งหมายของการบริหารการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเข้าถึง ตามนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
2
วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อสนองตอบนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้เรียน เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้
ตลอดชีวิต และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)
1.2 เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครู และผู้เรียน โดยการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ E-Learning และตอบสนองนโยบายสถานศึกษา
1.3 ตอบสนองการพัฒนายุทธศาสาตร์ระดับประเทศในการพัฒนากลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Communication : AEC)
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ มีสื่อ E-Learning และศูนย์การเรียนรู้ด้านการบริหารการขนส่ง พาณิชยนาวี การจัดการโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับ 5 คลัสเตอร์ เพื่อตอบสนองภาคการผลิตในสาขาการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและพาณิชยนาวี การจัดการโลจิสติกส์
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
1. มีสื่อ E-Learning และ ศูนย์การเรียนรู้เฉพาะทาง เพื่อสร้างคุณภาพการเรียนการสอนที่
ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานด้านการบริหารงานขนส่งและพาณิชยนาวี และการจัดการ
โลจิสติกส์
2. พัฒนาองค์ความรู้ ครู นักศึกษาในแผนกวิชาด้านการผลิต และออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้
3. พัฒนาเครือข่าย สถานประกอบการ คุณภาพวิชาการ ตามสาขาวิชาชีพ
4. พัฒนาความรู้สู่ระดับสากล กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ระยะเวลาดำเนินการ ปีงบประมาณ 2555 (ตุลาคม 2554 – กันยายน 2555)
สถานที่ ห้องปฏิบัติการโลจิสติกส์ อาคารเรียน 4 ห้อง 412 เพื่อจัดทำเป็นห้องปฏิบัติการการบริหารจัดการการขนส่งและพาณิชยนาวี การบริหารคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าในระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ที่ประกอบด้วยศูนย์การเรียนรู้ย่อย ผู้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อประสม E-Learning วัสดุ อุปกรณ์เฉพาะทาง ใบความรู้ แบบทดสอบ และอุปกรณ์การฝึกทักษะที่ทันสมัย จำนวน 1 ห้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น